วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555






 
คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

          เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร

           ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

          เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม
 ซานตาครอสเป็นสิ่งแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในฐานะสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส ซึ่งว่ากันว่าซานตาคลอสคนแรก คือ นักบุญ (เซนต์) นิโคลัส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเหตุที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซานตาครอสคนแรก มาจากวันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี
 

          นักบุญนิโคลัส นั้นเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม เอาไว้ ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลัสก็เปลี่ยนเป็น ซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราชก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วนและใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นยานพาหนะที่มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติของเขา

          ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียงตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย อาทิ ความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง

 ถุงเท้า           จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงินในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาสไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่๑๐ ธันวาคมของทุกปี ประวัติรัฐธรรมนูญ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 10 ธันวาคม
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประ เทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูง สุดของประเทศ

๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

       ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก   ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

       ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

       ๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร    

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการ ปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่ว คราว สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของ ราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

       ๑. พระมหากษัตริย์

       ๒. สภาผู้แทนราษฎร

       ๓. คณะกรรมการราษฎร

       ๔. ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบัน ที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติ ออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมา ภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลง การปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา  ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์  ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนรัฐสภา  ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่า นั้น   แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย  แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบ กันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้   หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมี ผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่   พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้น ๒๐ ฉบับ แต่ถ้านับ เฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง ๑๓ ฉบับดังนี้

       ๑. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ประกาศใช้บังคับ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๕ เดือน ๑๓ วัน

       ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑๓ ปี ๕ เดือน

       ๓. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ประกาศและบังคับใช้  เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ ๑ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน

       ๔. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศใช้ ๑ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน

       ๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒  รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี ๘ เดือน ๖ วัน

       ๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ประกาศและบังคับใช้ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ รวมอายุและประกาศบังคับใช้ ๖ ปี ๗ เดือน ๑๒ วัน

       ๗. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๙ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน

       ๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๓ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน

       ๙. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๙ เดือน ๒๒ วัน

       ๑๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี

     ๑๑. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙  ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี

     ๑๒. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๑๓ วัน

     ๑๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๒๘)

     ๑๔. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

     ๑๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

     ๑๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

     ๑๗. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๙ (ฉบับชั่วคราว)

   ๑๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา   ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร  สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทย ใ นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา    ได้มีการประก าศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และ โ ดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่ างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ   โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ  ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราช และความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของ ชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน   ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไก สถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็น ชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประ ชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม  ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙  ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํ ารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการเทอญ
กิจกรรม มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม  ทุกปีสืบมา  งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการ วางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณ อาคารบ้านเรือน
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกอัน เป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด   วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

วันพ่อ

ภ.ป.ร.


5 ธันวามหาราช

5 ธันวามหาราช

ตั้งแต่ 2 ธันวาคม เฉลิมฉลอง ในหลวง สุดยิ่งใหญ่ (ไทยรัฐ)

          รัฐบาลเตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5  ธันวาคมปีนี้ โดยเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 29 พฤศจิกายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ว่า เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่คนไทยทั้งประเทศต้องการหลอมรวมจิตใจเพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในปีนี้จะมีการจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษาที่เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ซึ่งทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้นมากมาย

          นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีต่าง ๆ ตามปกติแล้ว ปีนี้รัฐบาลได้ดำเนินการอีกหลายด้านคือ กิจกรรมด้านศาสนาตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม เวลา 08.00-10.00 น. จะมีพิธีทำบุญ 5 ศาสนา ที่ อ.วังน้ำเขียว (จ.นครราชสีมา) และวันที่ 3 ธันวาคม รัฐบาลจะจัดงานทำบุญไมตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล และจะมีพิธีถวาย สัตย์ปฏิญาณของข้าราชการทั่วประเทศ โดยจะมีข้าราชการส่วนหนึ่งมารวมกันที่ตึกสันติไมตรี ซึ่งขอเชิญชวนเพื่อนข้าราชการทุกคนร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณนี้ด้วย

          "นอกจากนั้น มูลนิธิ 5 ธันวาคม ซึ่งจัดมาทุกปีจะมีกิจกรรมที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม และในวันที่ 5 ธันวาคม ก็เชิญชวนประชาชนร่วมกันจุดเทียนชัยถวายพระพร ที่จะมีขึ้นในเวลา 19.00 น. ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทั้งนี้ ที่พิเศษในปีนี้คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ซึ่งนอกจากที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวงแล้ว ที่ถนนราชดำเนินกลาง และลานพระราชวังดุสิต หรือลานพระบรมรูปทรงม้า ก็มีการจัดงานด้วยระหว่างวันที่ 3-13 ธันวาคม โดยงานที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งมีกระทรวงมหาดไทยเป็นแกนหลัก เป็นการแสดงแสง สี เสียง ตระการตาทั้งด้านเทคนิคและใช้บุคลากรระดับโลก และไม่เคยแสดงมาก่อนในไทย ซึ่งเป็นการแสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มากว่า 60 ปี" นายกรัฐมนตรี กล่าว


5 ธันวามหาราช

5 ธันวามหาราช

วันปีใหม่

วันปีใหม่ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ



ประวัติความเป็นมา

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ



เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีลอยกระทง

วันลอยกระทง
ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง 2555

วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
วันพุธ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
 

วันลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมายาวนาน

      อีกไม่กี่วันแล้วก็จะถึงงานเทศกาลวันลอยกระทง ซึ่งเป็นงานเทศกาลแห่งความสุขและรื่นเริง ลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมายาวนาน บ้างก็ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย บ้างก็ว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เรียกได้ว่าเริ่มมีประวัติศาสตร์ชาติไทยขึ้นมาก็มีประเพณีลอยกระทงกันเลยทีเดียว

ประวัติวันลอยกระทงและประเพณีลอยกระทง

การลอยกระทงมีวัตถุประสงค์ด้วยกัน 2 ประการ คือ
      1. เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท้องที่ถือว่าลอยกระทงเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสที่พระพุทธองค์ได้ไปแสดงธรรมในนาคภิภพ และทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (1) เพราะฉะนั้นการที่บ้านเรามีประเพณีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองก็เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสนี้
 
      ส่วนทางเหนือนั้นมีประเพณียี่เป็ง มีทั้งลอยกระทงและลอยโคมขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบรรจุอยู่ในจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราจึงจุดประทีป ลอยโคม ส่งใจขึ้นไปบูชาพระเขี้ยวแก้วร่วมกับพระอินทร์ที่นำหมู่เทวดาบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณีในวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้เช่นกัน

      ยี่เป็งสันทราย ได้จัดประเพณีลอยกระทง และลอยโคม ซึ่งเป็นภาพวัฒนธรรมไทยที่งดงามมากในสายตาของชาวโลก และยังได้มีการจัดลอยโคมที่มองโกเลีย และอินเดียเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่มาแล้วด้วย

      2. เพื่อบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้เพราะน้ำ ตั้งแต่โบราณมาชุมชนทั้งหลายเวลาสร้างเมือง ต่างก็เลือกติดแม่น้ำ ดังนั้นถึงเวลาในรอบ 1 ปี ก็เลือกเอาวันเพ็ญเดือนสิบสอง ระลึกว่าตลอดปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต  ขณะที่ลอยกระทงเราก็นึกถึงคุณของน้ำ ไม่ใช่ลอยเฉยๆ ต้องรำลึกว่าต้องรู้จักใช้น้ำอย่างถูกวิธี และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ใช้ทิ้งขว้าง  ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงแม่น้ำ เป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่คงคา ไม่ใช่เป็นการไหว้เทวดาพระแม่คงคาแต่อย่างใด แต่เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตเรา
 

ความเป็นมาของเทศกาลวันลอยกระทง
 

คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
 
1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทม สินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไป จำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทาน ทีเมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของ พระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้อง ทะเลลึกหรือสะดือทะเล

ประวัติวันลอยกระทงในประเทศไทย

วันลอยกระทง 2554 
 
การลอยกระทงในประเทศไทยมีมาตั้วแต่ครั้งสุโขทัย
 
      การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานทีซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา
 

การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท

 
      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)
      รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ไปปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีมีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีเพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชา
 
การลอยกระทงที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ยังมีอีก 2 เรื่อง คือ
 
      1. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ และ
      2. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก
 

ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี

ลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี

การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี
     เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลากลางคืนด้วยม้ากัณฐกะ พร้อมนายฉันทะมหาดเล็กผู้ตามเสด็จ ครั้นรุ่งอรุณก็ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที เจ้าชายทรงขับม้ากัณฐกะกระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จลงประทับเหนือหาดทรายขาวสะอาด ตรัสให้นายฉันทะนำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร ทรงตั้งพระทัยปรารภจะบรรพชา โดยเปล่งวาจา "สาธุ โข ปพฺพชฺชา" แล้ว จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ตัดพระเมาลี แล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับพระเมาลีไว้และนำไปบรรจุยังพระจุฬามณีเจดียสถานในเทวโลก พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำ

ตำนานการลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก 

      
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันออกพรรษา


วันออกพรรษา
ประวัติและความสำคัญ

     วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น "วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา" ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ ๓ เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้ เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓. ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
๔. มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของอานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน
     อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า " วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา" มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ"   แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
     การที่พระท่านกล่าวปวารณา (ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) กันไว้ ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทางท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเอง แม้ผลจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตา เราก็ไม่สามารถมองเห็นผลนั้นได้ จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้น พระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟัง เรื่องดีไม่ดีไม่งามอะไรก็ตามให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้ โดยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยด้วยเจตนาดีต่อกัน คือ พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง
     การกล่าวปวารณา เท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดน้อยๆ นี้ที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้ ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง
     ตัวอย่าง วันออกพรรษาหรือวันมหาปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลายกระทำเช่นนี้ เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหายไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา
     ส่วนพิธีของฆราวาสนั้นควรจะนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาใช้ดูบ้าง ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน ไม่ว่าครอบครัวและสังคมต่าง ๆ และมีพิธีกรรมของฆราวาสที่เกี่ยวเนื่องกันในวันออกพรรษานี้ก็ได้แก่การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ เช่น การทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม ณ วัดที่อยู่ใกล้เคียง
     มีการทำบุญอันเป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า " ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน
     การทำบุญตักบาตรเทโวนี้ ท่านจัดเป็นกาลนาน คือ หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และการกระบุญเช่นนี้ โดยยึดถือว่าเป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตามตำนานกล่าวว่า

     เมื่อก่อนพุทธศักดิ์ราช ๘๐ ปี พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนา "พระสัตตปรณาภิธรรม" คือพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา (ซึ่งทรงบังเกิดอยู่ในสวรรคชั้นดุสิต)

     ครั้นครบกำหนดการทรงจำพรรษาครบ ๓ เดือน พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้วเสด็จลง จากดาวดึงส์เทวโลกมาสู่มนุษย์โลก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ โดย เสด็จลงทางบันไดแก้วทิพย์ ซึ่งตั้งระหว่างกลางของนับไดทองทิพย์อยู่เบื้องขวาบันไดเงินทิพย์อยู่เบื้องซ้ายและหัวบันไดทิพย์ที่เทวดาเนรมิตขึ้นทั้ง ๓ พาด บนยอดเขาพระสิเนรุราช อันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนเชิงบันไดตั้งอยู่บนแผ่นศิลาใหญ่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนคร และสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็นศุภนิมิตรสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็น "พุทธบูชานุสาวรีย์" เรียกว่า "อจลเจดีย์"
     อนึ่งในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนั้น ประชาชนพร้อมกันไปทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ พิธีที่กระทำกันในการตักบาตรเทโว ซึ่งถือตามประวัตินี้ก็เท่ากับทำบุญตักบาตร รับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จลงมาจากเทวโลกนั่นเอง บางวัดจึงเตรียมการในคฤหัสถ์แต่งตัวเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้างแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่มีล้อเคลื่อน และมีบาตรตั้งอยู่ข้างหน้าพระพุทธรูปใช้คนลากนำหน้าพระสงฆ์ พวกทายกทายิกาตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตร เป็นการกระทำให้ใกล้กับความจริงเพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนอาหารที่นำมาทำบุญตักบาตรในวันนั้น มีข้าว กับข้าวต้มมัดใต้ ข้าวต้มลูกโยนที่ห่อด้วยใบมะพร้าวหรือใบลำเจียกไว้หางยาวและข้าวต้มลูกโยนนี้มี ประวัติมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะตั้งใจอธิษฐานแล้วโยนไปให้ลงบาตรของพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้
     ความมุ่งหมายของการปวารณากรรม 
ปวารณากรรม มีความมุ่งหมายชัดเจนปรากฏอยู่ในคำที่สงฆ์ใช้ปวารณาซึ่งกันและกัน ดังนี้
- เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลงที่เกิดจากความระแวงสงสัย ให้หมดไปในที่สุด
- เป็นทางประสานรอยร้าว ที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกัน ให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน
- เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ให้กลมเกลียวอยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ
- เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิดว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วย ยศ ชั้น พรรษา วัย
- ก่อให้เกิด "ภราดรภาพ" รู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทรเป็นพื้นฐาน นำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงานคล้าย ๆ กัน เรียกว่า ศีลสามัญญุตา
     พิธีตักบาตรเทโว(วันพระเจ้าเปิดโลก)
มีปรากฎในอรรถกถาธรรมบทว่าในขณะนั้นพระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ในนครสาวัตถี พรรษาที่ ๒๕ ผู้คนในชมพูทวีปหันมาเลื่อมในพระพุทธศาสนาทำให้นักบวชของศาสนา อิจฉาเพราะเขาเหล่านั้นเดือดร้อนในการขาดผู้ค้ำจุนดูแลและขาดลาภสักการะจึงทำการกลั่นแกล้ง พระพุทธศาสนาโดยประการต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องฤทธิ์พระองค์และเหล่าสาวกของพระองค์เอง ศาสนาอื่นปลุกปั่นจนพระองค์ทรงห้ามเหล่าสาวกทั้งหลายแสดงฤทธิ์ พระองค์ก็งดแสดงฤทธิ์เช่นกัน จึงทำให้ศาลามีจุดที่จะทำให้ศาสนาอื่น เช่น อาจารย์ทั้ง ๖ และศาสนาเชน ทำการโฆษณาชวนเชื่อว่า พระพุทธศาสนานั้นมีพระพุทธเจ้า และสาวกสิ้นฤทธิ์หมดแล้วอย่าไปนับถือเลยสู้พวกตนไม่ได้ยังมีฤทธิ์เหนือกว่า ควรจะมานับถือพวกตนดีกว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ถือขืนปล่อยไว้เฉยต่อไป โดยไม่ตอบโต้บ้าง อาจเป็นผลเสียต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้นวันเพ็ญอาสาฬหะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ คือแสดงฤทธิ์เป็นคู่ ๆ ซึ่งก็มีปรากฎเพียงครั้งเดียวในครั้งนั้นทำให้ผู้คนที่เคลือบแครงสงสัย หันมานับถือศาสนาอย่างมั่นคงอีกครั้ง ในวันรุ่งขึ้นแรม ๑ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษา พระพุทธเจ้าทรงประกาศจำพรรษาที่สรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้าทำกันมาเมื่อลาพระพุทธเจ้าทรงลาบริษัทแล้วก็เสด็จไป ณ ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อโปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม ๗ พอครบเวลา ๓ เดือนของการโปรดพระพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรมทั้ง ๗ ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ ก็เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ ณ ที่ประตูเมือง สังกัสสนคร ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยบริวารตามลงมาเสด็จทางบันใดสวรรค์จนถึงขั้นพิภพ พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์บรรดาลให้โลกทั้ง ๓ มี เทวโลก , มนุษย์โลก , สัตว์นรก มองเห็นกันทั้งหมด จึงเรียกวันนั้นว่า วันพระเจ้าเปิดโลกพอวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ผู้คนในชมพูทวีปพากันมาใส่บาตรพระสงค์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข การตักบาตรในครั้งนั้นไได้นัดหมายกันมาก่อนเลยต่างคนก็ต่างมาด้วยศรัทธาจึงทำให้คนมามากมาย เมื่อมีมามากทำให้ไม่ถึงบาตรพระภิกษุสงฆ์ จึงเอาข้าวของตนห่อหรือปั้นเป็นก้อน โยนใส่บาตรพระด้วยเหตุนี้ต่อมาภายหลังจึงนิยมทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรพระในวันเทโวณหณะ
พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในสมัยปัจจุบัน 
     ตอนรุ่งอรุณของวันตักบาตรเทโว พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้ 

     พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในสมัยปัจจุบัน 
ตอนรุ่งอรุณของวันตักบาตรเทโว พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้
     ภาคกลาง 
จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันใดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันใดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร
      จังหวัดอุทัยธานีซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุจะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตรจากชาวบ้าน อนึ่ง ขบวนพระภิกษุสงฆ์นั้นที่ลงมาจากบันใดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูป นำหน้าสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้าจะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา โดยตั้งบนรถ หรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาตร
      สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้ว ฟังเทศน์รักษา อุโบสถศีล
     สำหรับที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น ๒ วันคือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน ๑๑ ในวันออกพรรษานั้น ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย และรักษาอุโบสถศีล

     ภาคใต้ 
ประเพณีชักพระ (พระพุทธรูป) ทางภาคใต้เรียกว่า พิธีลากพระมีสองกรณี คือ ชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ
     ถึงแม้ภาคนี้จะมีความแตกต่างไปจากภาคอื่น ภาคใต้ ก็มีจุดประสงค์ปรารภเหตุ การเสด็จลงมาของพระพุทธเจ้าจากเทวโลกมาถึงพื้นโลก ในวันปวารณาออกพรรษาเช่นเดียวกัน ก็จัดให้มีประเพณีแห่พระพุทธรูป ในวันแรม 1 ค่ำเดือน ๑๑ จึงนำมากล่าวในที่นี้ด้วยประเพณีชักพระ มี ๒ ประเภท คือ ชักพระทางบก กับชักพระทางน้ำ
     พิธีชักพระทางบก
จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ ๒ วันจะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวาน ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน " ปัด" คือข้าวต้มผัด น้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา ๑ - ๒ สัปดาห์ทางวัดจะทำเรือบก คือเอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ ๒ ท่อนมาทำเป็นพญานาค ๒ ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก (ร้านม้า)บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกก็วางเครื่องดนตรี ไว้บรรเลงเวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ ๒ เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง ๒ ตัวเมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่าง ๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร การชักพระที่ปัตตานี มีอิสลามร่วมด้วย
     พิธีชักพระทางน้ำ
     ก่อนถึงวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่าง ๆ ก็จะนำเรือมา ๒ - ๓ ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูปในเรือบางที่ ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานจะมีเรือพระหลาย ๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมดทุกวัดที่มาร่วม จะมีการฉลองสมโภชพระ มีการเล่นต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน เช่นแข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน
     พิธีรับพระภาคกลาง 
พิธีรับพระเป็นพิธีบูชาพระพุทธเจ้า ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากการจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก พิธีนี้มักจะปรากฏในภาคกลางที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นคมนาคมทางน้ำ เช่น อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระ-พุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม ยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย
     ประเพณีตักบาตรพระร้อย 
     "ประเพณีตักบาตรพระร้อย" หรือ ใส่บาตรพระร้อยรูป เป็นบุญประเพณีของชาวประเพณีโดยเฉพาะ ส่วนมากจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องด้วยแต่เดิมบ้านอยู่ติดริมน้ำลำคลอง จึงใช้เรือสัญจร พระส่วนมากจึงใช้เรือบิณฑบาต
     เนื่องมาแต่ความเชื่อเดิมว่าหลังวันเสด็จลงจากเทวโลก คือวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ หรือวันตักบาตรเทโว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงนำพระภิกษุสงฆ์จำนวนเป็นร้อยออกบิณฑบาต ชาวประชาจึงหลั่งไหลมาถวายสักการะต้อนรับด้วยดอกไม้และบิณฑบาตทาน จึงมีพิธีตักบาตรเทโวขึ้น แต่ชาวปทุมธานีนิยมกำหนดเอาพระบิณฑบาตจำนวนร้อยรูป จึงเรียกว่า ตักบาตพระร้อยสืบมา
     ประโยชน์ของพิธีออกพรรษา 
๑.เมื่อวันออกพรรษามาถึงเป็นการเตือนใจชาวพุทธว่า เวลาที่ผ่านไป ชีวิตก็ใกล้ตายเข้าไปทุกขณะแล้ว ควรเร่งทำกุศล และยังได้ถึงความปีติ ที่ได้บำเพ็ญกิจมาตลอดพรรษาและเป็นการเตือนสติอย่าให้จิตของตนละเลิกการทำกุศลไม่ให้ตกไปสู่ทางอบายมากเกินไป
๒.ประโยชน์ที่โดดเด่น คือประโยชน์ของการปวารณาที่สงฆ์การกระทำกันในวันออกพรรษาเพื่อ ให้สงฆ์ดำรงค์ความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียวยากแก่การทำลาย ถ้าคนในชาติเราทุกฝ่ายหันมา ปวารณากัน คือเปิดใจกัน เปิดเผยซึ่งกันและกัน หันหน้ามารวมพลังกันพัฒนาประเทศความทุกข์ก็จะบรรเทาเบาบางลง
     จากพิธีออกพรรษา
๑.เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงค์อยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล
๒.การทำบุญออกพรรษาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนาน ๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมาอาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้าง ๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน
๓.ได้ข้อคิดที่ว่าคนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา
๔.เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกันโดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใด ๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

*****............................*****

ข้อมูล และภาพจาก
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
http://www.onab.moe.go.th 

วันปิยมหาราช

 

วันปิยมหาราช หรือ วันปิยะมหาราช

 
 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
 
พระราชประวัติ
 
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี
 
"ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย"
 
 เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร และเริ่มเรียนในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการหลายแขนง ตลอดจนโบราณราชประเพณี และได้ทรงศึกษาภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม จากสำนักเจ้านายและขุนนางอื่นๆ ที่เป็นผู้ทรงความรู้อันสมควรแก่พระราชกุมาร สมเด็จพระราชบิดาผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ทรงตระหนักดีว่าวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ แต่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงทรงว่าจ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระบรมราชโอรสด้วย แม้ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษตลอดเวลา นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เมื่อเสด็จต่างประเทศก็ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี โบราณคดีทั้งปวงนั้น สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานพระบรมราโชวาทฝึกสอนด้วยพระองค์เอง
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ ในปีต่อมาได้กระทำการสำคัญยิ่งใหญ่คือ การเลิกทาส พระองค์สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยมิได้เกิดเหตุร้ายภายในขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ และทรงโปรดฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ นานถึง ๔๒ ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ ด้วยพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถอย่างเฉลียวฉลาด ของพระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงประเทศ โดยการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ตลอดเวลา ๔๒ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศไทยรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดาชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้นมาได้ แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายพระเนตรมองไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนงต่างๆ ทั้ง การพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน และความมั่นคงของบ้าน อีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระทัยถึงความเป็น อยู่ของประชาชน ทรงออกเยี่ยมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน
 
 การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จประพาส สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประเทศ ทรงเสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ได้ผ่อนคลายในที่สุด
 
 ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิรยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์
 
"ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม"
 
  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่ง เวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย
 
 วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ ถือเป็นวันแห่งการน้อมรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระวันคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต เป็นวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง ที่จะเทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน.
 

การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่

 
การเลิกระบบไพร
 
 คำว่า "ไพร่" คือ คำที่ใช้เรียกราษฎรสามัญทั้งหญิงและชายในสังคมมาแต่อดีต สถานะไพร่เกิดขึ้นจากความจำเป็นทางสังคมที่แรงงานมีความสำคัญ ทั้งทางเศรษฐกิจและเป็นกำลังให้กองทัพยามสงคราม รัฐไทยในสมัยก่อนจึงต้องมีนโยบายส่งเสริมให้คนเข้ามาตั้งบ้านเมือง และหาวิธีควบคุมกำลังคนเหล่านั้น ระบบการควบคุมคนไทยในสังคมไทยคือ "ระบบมูลนายไพร่ "
 
 สถานะของไพร่จึงเป็นสถานะที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยระเบียบของรัฐ ไม่มีอิสระในชีวิตจนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ มีไพร่หลบหนีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า สถานะไพร่ เป็นแอกใหญ่ของสังคม ได้ทรงปลดภาระนี้ด้วยการจัดระเบียบสังคมเสียใหม่ให้มีการใช้แรงงานจ้าง ทหารประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์แรงงาน* เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๒๕ มีการตราพระราชบัญญัติทหารหลายฉบับ ให้เป็นทหารสมัครก่อน จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงประกาศใช้ " พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ " เปลี่ยนจากทหารสมัครเป็นทหาร "เกณฑ์ " โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ - ๒๐ ปีต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารและประจำการมีกำหนดระยะเวลา ๒ ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารนี้ นับเป็นการยกเลิกระบบไพร่อย่างเป็นทางการ ไพร่จึงมีสถานะเป็นคนสามัญ เป็นแรงงานอิสระที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในฐานะมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
การเลิกทาส
 
 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยสิทธิขาด นับตั้งแต่ปี ๒๔๑๖ เป็นต้นมา พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไป และให้ประชาราษฎร์ได้อยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้ากัน โดยทรงยึดหลักว่า ธรรมเนียมใดเป็นการเจริญ มีคุณประโยชน์เป็นยุติธรรมแล้ว ก็ทรงทำนุบำรุงให้วัฒนาการยิ่งขึ้นไป ธรรมเนียมใดไม่เป็นการเจริญแก่ประชาชน ไม่เป็นคุณประโยชน์ ไม่เป็นการยุติธรรมก็ทรงเลิกเสียนั่นคือการเลิกทาส ได้ทรงพิจารณาที่จะเลิกทาสด้วยการลดราคาค่าทาสลง จำนวนทาสค่อยลดลงโดยลำดับจนหมดไปทั้งพระราชอาณาเขต ทรงใช้วิธีการอย่างละมุนละม่อมในการเลิกทาส มิให้ทั้งนายและตัวทาสเองได้รับผลเสียและไม่พึงพอใจ ทรงดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงเลิกระบบทาสได้สำเร็จลุล่วง และได้ออกเป็นพระราชบัญญัติทาส รศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
 
 การเลิกทาสเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี จนบรรลุผลสมดังพระราชประสงค์ โดยมิได้ทรงท้อถอย ทรงรอบคอบ เห็นการณ์ไกลเป็นเลิศ พระองค์ทรงดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด เยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์
www.wikipedia.org และ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต